พื้นที่สุขภาพ

   ตามประมาณการในปี 2564 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (super aged society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการรับมือสู่ สังคมสูงวัย จำเป็นต้องให้ผู้สูงวัยเข้าใจหลักการการดูแลสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงและคุณภาพ ชีวิตที่ดี ซึ่งการที่ผู้สูงวัยจะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมหมายถึงมีการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัย เกษียณ ซึ่งหนึ่งในทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ คือ การดูแลด้วยวิถีภูมิปัญญา เป็นทางเลือกที่ง่าย ต่อการเข้าถึงของกลุ่มชุมชน ด้วยเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้กับวิถีการดำรงชีวิต สถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมในวิถีการดำรงชีวิตที่ ผ่านมา ไม่ว่าการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหาร ออกกำลังกาย หรือการจัดการ ความเครียด รวมถึงสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะ PM 2.5 หรือ การใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยรุนแรง อันอาจจะส่งผลถึง ภาวะเศรษฐกิจที่ตามมา ในการลดการเกิดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ หรือแม้กระทั่งการลด ภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนั้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจะส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรม สุขภาพที่เหมาะสมกับภูมิสังคมไทยและภูมิปัญญาไทย และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของคนยุคปัจจุบัน รับในระดับสากล รวมทั้งคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดระบบที่มีการยอม ทุกวัยสามารถเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อก้าวสู่สังคมสูงวัยที่ประชากรมีการดำรงชีวิตอย่างมี คุณค่า มีคุณภาพชีวิตที่ดี