พื้นที่อ.เมือง

     ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและรับใช้สังคม(Vice President for Societal Engagement) พร้อมกับจัดตั้ง “หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม”เป็นกลไกระดับมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนงานวิชาการที่จะมีผลกระทบสูงต่อสังคม และบริการวิชาการด้านสุขภาพ ของส่วนงานระดับคณะ สถาบันวิจัยและสำนัก ซึ่งครอบคลุมทั้งงานวิจัยรับใช้สังคม (Socially-engaged research) นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social innovation) และกิจกรรมการเรียนรู้คู่บริการ (Service learning) โดยหน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบสูง” ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิชาการเพื่อสังคม (Center of Engagement – C0En) ในฐานะกลไกระดับคณะ/ส่วนงาน ที่จะคอยเอื้ออำนวยให้เกิดงานวิชาการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่ นำร่องในชนบท ได้แก่ อำเภออมก๋อย อำเภอพร้าว อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลศรีบัวบาน จังหวัดลำพูน รวมทั้งพื้นที่นาำร่องเขตเมือง ได้แก่ ชุมชนในเมืองเชียงใหม่ ชุมชนรอบ มช. เช่น ตำบลสุเทพ ตำบลช้างเผือก เป็นต้น ตลอดจน การทำงานกับเครือข่าย ผ่านงานวิจัยและพัฒนาในประเด็นที่ท้าทาย อาทิ การ แก้ปัญหาฝุ่นควัน การพัฒนา Young smart farmer 4.0 การพัฒนาพี่เลี้ยงและนักวิจัยชุมชน การพัฒนา ศูนย์วิจัยชุมชน เป็นต้น ในการนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันมีนักวิจัยได้ดำเนินโครงการตามพื้นที่ยุทธศาสตรืของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังรายชื่อต่อไปนี้...

1.โครงการพัฒนาการผลิตและคุณภาพพืชผักปลอดภัยทั้งระบบ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ ชาติชาย โขนงนุช บัณฑิตวิทยาลัย > ฝ่ายบริหารจัดการสาขาวิชาร่วม

2.โครงการสานต่อภูมิปัญญาเครื่องเงิน เครื่องเขิน สู่การพัฒนาทักษะอาชีพ ชุมชนวัวลาย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ ธันวา เบญจวรรณ วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล

3.การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยแนวคิดใหม่สู่การสร้างรายได้และการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน ของตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์

4.ครงการพัฒนาชุมชนตำบลป่าแดดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์

5.โครงการพัฒนาชุมชนตำบลป่าแดดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์

6.โครงการพัฒนาชุมชนตำบลท่าศาลา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์ > ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา

7.โครงการสำรวจความหลากหลายของสมุนไพรที่จำหน่ายในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

๐ วลัยพร มูลพุ่มสาย คณะเกษตรศาสตร์ > ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว