พื้นที่อ.แม่ออน

     การเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทยในปัจจุบันได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำนมดิบที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพการผลิตที่สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่เกษตรกร โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อให้ได้รับผลผลิตสูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งโคนมจะถูกเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นในพื้นที่จำกัด อันก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเต้านมอักเสบ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และโรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ที่มีผลต่อสุขภาพและการผลิตของโคนมโดยตรง และเมื่อเกิดโรคหรือเริ่มแสดงอาการป่วย เกษตรกรจำเป็นต้องมียาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือยาต้านจุลชีพเพื่อรักษาและป้องกันการติดต่อหรือแพร่กระจายของโรคและลดการสูญเสียในสัตว์ที่เลี้ยงในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งพบว่ายังขาดข้อมูลที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตดังกล่าว


 โรคเต้านมอักเสบ เป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนมและส่งผลกระทบไปสู่ผู้บริโภคได้โดยตรง ยิ่งไปกว่านั้นการเกิดปัญหาดังกล่าว ทำให้จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาที่อาจก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการตกค้างของยาในน้ำนมและส่งผลถึงผู้บริโภคได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญนั่นคือ การใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ยาต้านจุลชีพในขนาดที่ต่ำกว่าระดับที่สามารถฆ่าเชื้อก่อโรค การใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ล้วนเป็นปัจจัยในการพัฒนาเชื้อดื้อยาที่ส่งผลต่อปัญหาการดื้อยาของเชื้อก่อโรคให้กับแม่โคภายในฟาร์ม และการดื้อยาของเชื้อก่อโรคในคนได้
ทั้งนี้ทางภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค สาขาสัตว์เคี้ยวเอื้อง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เล็งเห็นว่า การรักษา แก้ไข และป้องกันปัญหาเต้านมอักเสบที่มีประสิทธิภาพนั้น จำต้องมีระบบการตรวจวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีระบบวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบ พร้อมทำการหาความไวยาที่เหมาะสม และพัฒนาระบบติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อรักษาโรคเต้านมอักเสบของเกษตรกรแต่ละฟาร์ม ร่วมด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์โคนม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแม่โคนมที่เกิดเต้านมอักเสบ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายย่อยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำนมดิบในฟาร์ม พร้อมทั้งลดความเสี่ยงของการตกค้างของสารต้านจุลชีพในน้ำนมดิบที่อาจกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งลดความเสี่ยงในการพัฒนาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่อาจมีผลต่อสุขภาพของประชาชนอีกด้วย ผลจากการดำเนินโครงการครั้งนี้ยังสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชนผู้เลี้ยงโคนมอื่นๆ ในเขตภาคเหนือหรือทั่วประเทศ และสามารถเป็นต้นแบบในการสร้างระบบตรวจวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้อย่างมีคุณภาพในโรคอื่นๆ ในโคนมนอกจากเต้านมอักเสบและมดลูกอักเสบ หรือสามารถเป็นต้นแบบในการสร้างระบบวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคอื่นๆ เช่น สุกร แพะ แกะ และสัตว์เลี้ยงไว้เป็นเพื่อเช่น สุนัขและแมว เป็นต้น

มีนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการในพื้นที่แม่ออน ดังต่อไปนี้..
1.การถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงโคนมให้เกษตรรุ่นใหม่และต่อยอดความรู้ใหม่สำหรับเกษตรกรรุ่นเก่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของฟาร์มโคนม (สหกรณ์โีคนมแม่ออน จำกัด)
๐ วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์
2.การจัดการด้านโภชนาการในโคนม (สหกรณ์โคนม แม่ออน จำกัด)
๐ วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์
3.ระบบบันทึกข้อมูลฟาร์ม การใช้ข้อมูลฟาร์มให้เกิดประโยชน์ (สหกรณ์โคนม แม่ออน จำกัด)
๐ วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์
4.งค์ประกอบน้ำนมและคุณภาพน้ำนม (สหกรณ์โคนม แม่ออน จำกัด)
๐ วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์
5.การพัฒนาศักยภาพผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนแม่ตะไคร้ ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
๐ ณฐิตากานต์ พยัคฆา คณะเกษตรศาสตร์ > ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
6.การสร้างองค์ความรู้และการมีส่วนร่วมในการจัดรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลออนใต้ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
๐ ณฐิตากานต์ พยัคฆา คณะเกษตรศาสตร์ > ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
7.การเฝ้าระวังพัฒนาการดื้อยา และระบบการตรวจวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนมของฟาร์มโคนมเกษตรกรรายย่อย ณ สหกรณ์โคนมแม่ออน อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
๐ ขวัญชาย เครือสุคนธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ > ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค