พื้นที่อมก๋อย

     ในช่วงทศวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับปลายแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ปี 2560-2565 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งมั่น “รับผิดชอบต่อสังคม” ตามแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัย กับสังคม (Societal Engagment) โดยตั้งเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ไว้ว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย และได้รับการนึกถึงเป็น“ที่แรก” ในการแก้ไขปัญหาสำคัญและเสริมพลัง (Empowerment) ของชุมชน ท้องถิ่นและสังคมโดยใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัยและเครือข่าย” ซึ่งจะก่อให้เกิด “

1) คุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น จากการบริการองค์ความรู้พร้อมใช้ และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

2) ผลงานบริการวิชาการสหวิทยาการที่สร้างผลกระทบสูงในวงกว้าง ต่อชุมชน/กลุ่มจังหวัด/ประเทศ

3) บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้นำ ในองค์กรด้านวิชาการเพื่อสังคม ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติเพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดผลตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและรับใช้สังคม(Vice President for Societal Engagement) พร้อมกับจัดตั้ง “หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม”เป็นกลไกระดับมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนงานวิชาการที่จะมีผลกระทบสูงต่อสังคม และบริการวิชาการด้านสุขภาพ ของส่วนงานระดับคณะ สถาบันวิจัยและสำนัก ซึ่งครอบคลุมทั้งงานวิจัยรับใช้สังคม (Socially-engaged research) นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social innovation) และกิจกรรมการเรียนรู้คู่บริการ (Service learning) โดยหน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบสูง” ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิชาการเพื่อสังคม (Center of Engagement – C0En) ในฐานะกลไกระดับคณะ/ส่วนงาน ที่จะคอยเอื้ออำนวยให้เกิดงานวิชาการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่ นำร่องในชนบท ได้แก่ อำเภออมก๋อย อำเภอพร้าว อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลศรีบัวบาน จังหวัดลำพูน รวมทั้งพื้นที่นาำร่องเขตเมือง ได้แก่ ชุมชนในเมืองเชียงใหม่ ชุมชนรอบ มช. เช่น ตำบลสุเทพ ตำบลช้างเผือก เป็นต้น ตลอดจน การทำงานกับเครือข่าย ผ่านงานวิจัยและพัฒนาในประเด็นที่ท้าทาย อาทิ การ แก้ปัญหาฝุ่นควัน การพัฒนา Young smart farmer 4.0 การพัฒนาพี่เลี้ยงและนักวิจัยชุมชน การพัฒนา ศูนย์วิจัยชุมชน เป็นต้น ในการนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

   ปัจจุบันพื้นที่อมก๋อยมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการ หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น มิติทางเศรษฐกิจสังคม มิติด้านสุขภาพ มิติด้านการเกษตร อื่นๆ เป็นต้น

 โดยมีนักวิจัยดังต่อไปนี้..
1.โครงการถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมของภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน ในถิ่นทุรกันดาร ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 

๐ บานจิตร สายรอคำ สถาบันวิจัยสังคม

2.ส่งเสริมศักยภาพการผลิตพืชผักปลอดสารฆ่าแมลงในกลุ่มเกษตรกร และขยายผลสู่กลุ่มผู้สูงอายุอำเภอสันป่าตอง และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 

๐ สุรัตน์ หงษ์สิบสอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3.การส่งเสริมการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอท็อป) สู่ความเข้มแข็งของ ชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ จันทนา สุทธิจารี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

4.โครงการจัดทำสื่อสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายเส้นทางท่องเที่ยวดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ 

๐ ปฐม ปฐมธนพงศ์ สำนักบริการวิชาการ

5.โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางเลือกบนฐานทรัพยากรในชุมชนพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร บ้านแม่เกิบ ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ บานจิตร สายรอคำ สถาบันวิจัยสังคม

6.โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำุมชนในตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ ปฐมาวดี จงรักษ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

7.การลดการติดพยาธิในลำไส้ของชนชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ จินตนา ยาโนละ คณะเทคนิคการแพทย์

8.โครงการการสร้างต้นแบบระบบเกษตรอนุรักษ์ที่เกษตรกรมีรายได้จากกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

๐ ชวลิต กอสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์

9.การสร้างฐานข้อมูลสุขภาพของประชากรในเขตตำบลนาเกียนและตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ : สุขภาพทรวงอก ภาวะกระดูกพรุน และดัชนีสมรรถภาพของหลอดเลือดแดง

๐ กฤช ใจคุ้มเก่า คณะเทคนิคการแพทย์

10.กระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมโดยการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีศึกษาครูและผู้นำชุมชนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ วิเชียร สุนิธรรม คณะมนุษยศาสตร์

11.การพัฒนาแนวทางการสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยในโรงเรียน และการขยายผลการสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยสู่กลุ่มผู้สูงอายุ อำเภอสันป่าตอง และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ สุรัตน์ หงษ์สิบสอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

12.โครงการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แนวทางการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่ 2

๐ วีระศักดิ์ รุ่งเรืองวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์

13.โครงการพัฒนาทักษะด้านการวางแผนและการบริหารโครงการของผู้นำชุมชนในตำบลนาเกียน อ.อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ปฐมาวดี จงรักษ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

14.โครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนบ้านแม่เกิบ ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่"

๐ บานจิตร สายรอคำ สถาบันวิจัยสังคม

15.กระบวนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมโดยการบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีศึกษาครูและผู้นำชุมชนตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (ระยะที่ 2)

๐ วิเชียร สุนิธรรม คณะมนุษยศาสตร์

16.การพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโดยใช้หอพักนอนเป็นฐานร่วมกับชุมชนในโรงเรียนพื้นที่สูง: ขยายผลต้นแบบจากโรงเรียนบ้านยางเปา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ สุภัทร ชูประดิษฐ์ คณะเทคนิคการแพทย์

17.การสร้างโมเดลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อปรสิตในลําไส้ของ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในอําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ จินตนา ยาโนละ คณะเทคนิคการแพทย์ > ภาควิชาเทคนิคการแพทย์

18.อมก๋อยธาลัสซีเมียโมเดล: การบริหารจัดการภาวะโลหิตจางและการใช้กลยุทธ์การบริการถึงที่หมายในเด็กชาติพันธุ์เผ่ากะเหรี่ยงในบ้านอูตูมตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย

๐ ณัฐจีรา อินต๊ะใส คณะเทคนิคการแพทย์

19.โครงการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แนวทางการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและการกำหนด ขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่

๐ วีระศักดิ์ รุ่งเรืองวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์

20.การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม และความมั่นคงทางอาหารแก่นักเรียนและประชาชนบนพื้นที่สูงอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐ นริศ ยิ้มแย้ม คณะเกษตรศาสตร์

21.โครงการการลดการติดพยาธิในลำไส้ของชนชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่ตำบาลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

๐จินตนา ยาโนละ คณะเทคนิคการแพทย์

22.อมก๋อยธาลัสซีเมียโมเดล: การใช้กลยุทธ์การบริการถึงที่หมายในเด็กชาติพันธุ์เผ่ากะเหรี่ยงในบ้านอูตูมตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่

๐ณัฐจีรา อินต๊ะใส คณะเทคนิคการแพทย์